วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สัตว์หิมพานต์

 

ป่าหิมพานต์

ป่าหิมพานต์เป็นเหมือนพื้นที่ในตำนานที่อยู่ในความรับรู้ของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในวรรณคดีหลายๆ เรื่องเวลาพูดถึงเรื่องความมหัศจรรย์ต่างๆ ก็มักจะอ้างอิงเข้าไปในป่าหิมพานต์แห่งนี้ แม้แต่ไม่นานมานี้อดีตดาราหนุ่มรองเท้าแดงก็เคยเล่าถึงการพลัดหลงเข้าไปในป่าวิเศษนี้

ป่าหิมพานต์มาจากคติความเชื่อแบบพุทธ ในไทยเราปรากฏอยู่ใน ‘ไตรภูมิพระร่วง’ หรือ ‘เตภูมิกถา’ วรรณกรรมพุทธศาสนาเก่าแก่สมัยสุโขทัย เตภูมิกถาเป็นหนังสือที่พูดถึง ‘จักรวาลวิทยา’ แบบพุทธๆ จักรวาลวิทยามีความสำคัญคือเป็นคำอธิบายเรื่องความเป็นไปของโลก ที่สำคัญคืออธิบายว่าเราอยู่ตรงไหนของโลก และจะไปทางไหน ในไตรภูมิเองพูดถึงภพทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ อันเป็นภพภูมิที่เราๆ เวียนว่ายอยู่ นอกจากนี้ยังพูดถึงวงจรกำเนิดไปจนถึงการสิ้นสุดของโลก โดยรวมแล้วก็ประมาณว่าโลกเรามีที่พิเศษและแสนสุขแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ไม่จีรัง นิพพานจึงเป็นปลายทางที่ควรไป นอกจากนี้ยังพูดถึงเรื่องการปกครองด้วย เช่น จักรพรรดิราช ที่อธิบายเรื่องบุญญาบารมีและทศพิธราชธรรม เป็นการอธิบายสภาวะปัจจุบันของเราๆ ท่านๆ ของผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง


สัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา


พญานาค

    หนึ่งในสิ่งมีชีวิตโบราณที่เราพบเห็นได้ในทุกบันไดวัด พญานาคอาศัยอยู่บริเวณบาดาลใต้เขาหิมพานต์ มีอิทธิฤทธิ์มากมาย จำแลงกายได้ บางชนิดพ่นพิษ พ่นไฟได้ พญานาคมีทั้งหมด 4 ตระกูลหลักๆ แต่คนไทยจะคุ้นเคยกับพญานาคในตระกูลเอราปถ หรือตระกูลสีเขียวมากที่สุด

     ในคติความเชื่อของพราหมณ์นั้น นาคหรือพญานาค เป็นผู้ดูแลปกปักรักษาแม่น้ำสีทันดร เป็นแม่น้ำสายใหญ่รอบเขาพระสุเมรุ และยังทำหน้าที่เป็นสะพานสายรุ้งเชื่อมกับโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ทางด้านพระพุทธศาสนา นาคยังเป็นตัวเเทนของผู้ใฝ่รู้ เป็นตัวเเทนของปราชญ์ พร้อมที่จะเข้าหาพระธรรมคำสอน จึงทำให้พญานาคกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่บนราวบันไดวัดนั่นเอง


นกการเวก

นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ แปลว่า "นกกินลม" เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟังนกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ ถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลังของไทย โดยใช้มาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่5 โดยมีที่มาจากขนหางของนกปักษาสวรรค์จากอินโดนีเซีย ที่ประดับบนพระมาลา ที่ได้มาจากชาวอังกฤษที่ทูลเกล้าถวายตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

วารีกุญชร

วารีกุญชร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้าง เท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา(ส่วนชนิดที่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด เรียกว่า กุญชรวารี อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี ประวัติของวารีกุญชรไม่มีที่มาอย่างแน่ชัดเเต่ถึงกระนั้นก็ส่งผลต่ออิทธิพลความเชื่อของคนไทยโดย จิตรกรรมฝาผนังของวารีกุญชรมักเขียนบนฝาผนังของโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดช่องนนทรี หรือวัดคงคาราม เป็นต้น



คชสีห์

คชสิงห์ หรือ คชสีห์ เป็นสัตว์พันธ์ผสมในเทพปกรณัมฮินดู ซึ่งปรากฎเป็น สิงห์ หรือ ราชสีห์ ที่มีหัวหรืองวงช้าง มีการใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นลวดลายในศิลปะอินเดียและสิงหล และใช้เป็น เครื่องหมายประจำตระกูลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ โดยเฉพาะประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ในประเทศสยาม คชสีห์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของกลาโหม ยังปรากฎเป็นเครื่องค้ำในตราเเผ่นดินของสยามตั้งแต่ ค.ศ. 1873 ถึง 1910


นกหัสดีลิงค์


นกหัสดีลิงค์ นกหัสดีลิงค์ เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะตัวส่วนใหญ่เป็นนก แต่มีงอยปากมีลักษณะเป็นงวงอย่างงวงช้าง นกหัสดีลิงค์มักถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมฌาปนกิจแสดงว่า ผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกได้ โดยนกหัสดีลิงค์สามารถนำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ได้ นกหัสดีลิงค์ ปรากฏเป็นภาษาบาลีว่า หตฺถิลิงฺคสกุโณ มาจากคำสามคำสมาสกัน สามารถแยกเป็น หัตถี+ลิงค์+สกุโณ คำว่า หัตถี หมายถึง ผู้มีมืออันโดดเด่นขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ งวงของช้าง

 














































  กินรี กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่...