วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566

 

กินรี


กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

ตำนานของกินรี

กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ
ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี


 นารีผล

 "มักกะลีผล” หรือ "นารีผล” เป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถออกลูกเป็นหญิงสาว ลำต้นสูงใหญ่ ใบจะเหมือนมะม่วงแต่มีขนาดเท่าใบกล้วย เมื่อผลยังอ่อนจะมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้ขาอยู่ พอโตขึ้นหน่อยขาก็จะเหยียดออก ครั้นโตเต็มที่และผลสุกแล้วจะมีรูปร่างดังสาวแรกรุ่นอายุราว ๑๖ ปี ยืนตัวตรง เปลือยกาย โดยส่วนศีรษะจะมีขั้วติดอยู่คล้ายขั้วมังคุด จะมีหน้าตาผิวพรรณงดงามปานเทพธิดา มีผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง แต่ไม่มีโครงกระดูก นิ้วเรียวยาวเท่ากัน ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์ และมีกลิ่นกายหอมไปไกล มักกะลีผลที่มีหุ่นยั่วยวนชวนฝันนี้จะอยู่ติดต้นได้เพียง ๗ วัน ก็จะหลุดจากขั้วแห้งเหี่ยวไป แต่ส่วนใหญ่พอสุกปั๊บ ไม่ทันได้หล่นใต้ต้น เหล่าหนุ่มกลัดมันอันได้แก่ ฤษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ และกินนรทั้งหลายที่ยังละกามกิเลสไม่ได้ ก็จะมาเปิด "ศึกชิงนาง” ยื้อแย่งจนทำร้ายกันถึงตายก็มี ครั้นใครได้ไปก็จะพานารีผลนางนั้นกลับไปเสพสังวาส พอ ๗ วันผ่านพ้น มันก็เน่าเปื่อยไปในที่สุด หนุ่มๆก็จะกลับไปรอกันใหม่

งายไส


งายไส เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ที่มาของ ชื่อนี้ยังไม่ทราบว่ามาจาก ไหนและแปลว่าอะไร แต่ในตำนานได้บรรยายว่า งายไส มีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น งายไสเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร
         สัตว์ที่ งายไส ล่าเป็นเหยื่อ มีตั้งแต่สัตว์เล็กจนไปถึงสัตว์ใหญ่ บางครั้งก็ล่ามนุษย์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่มักจำ งายไส สลับกับ ดุรงค์ไกรสร เพราะสัตว์ทั้ง ๒ ประเภทมีร่างเป็นม้าและมีส่วนหัว เป็นสัตว์ประเภทสิงห์ จะต่างก็เพียงแต่หัวของดุรงค์ไกรสรไม่มีเขา   



ติณสีหะ

 ติณสีหะตามตำราฉบับนี้ว่ามีกายสีเขียวอ่อนแต่บางตำราว่ามีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืช เป็นราชสีห์อีกชนิด รูปพรรณสัณฐานคล้ายนางโค กินหญ้าเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

ติณ แปลว่า หญ้า ในจิตรกรรมวัดสุทัศน์ ระบุว่า กายสีเขียว -ในวรรณกรรมรัตนโกสินทร์ ระบุกายสีหม่นมัวเหมือนนก  



กาฬสีหะ

 กาฬสีหะ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)
              ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชา ด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามาารถทำให้ สัตว์อื่น เจ็บได้





 เหรา

ตัวเหรา (เห-รา) จะมีลักษณะคล้ายจระเข้ผสมกับพญานาค ซึ่งหลายๆ คนมักเรียกสับสนกับตัว มกร เพราะตัวเหรานั้นเรียกได้ว่าเหมือนนาคมีขา ในขณะที่มกรนั้นด้วยความที่กำลังคายตัวนาคออกมา คนเลยมักมองว่าเป็นนาคที่มีขาเหมือนกัน (ซึ่งจริงๆ ขานั้นเป็นของตัวมกร ไม่ใช่ของนาค) ตัวเหรายังแบ่งออกแยกย่อยเป็นลูกครึ่งได้อีกหลายแบบ ทั้งสุบรรณเหรา (ครึ่งครุฑครึ่งเหรา) สกุณเหรา (ครึ่งนกครึ่งมังกร) หรือ อัสดรเหรา (ครึ่งม้าครึ่งเหรา) เป็นต้น


 มยุระเวนไตย
คำว่าเวนไตยเเปลว่าครุฑ เเละมะยุระเเปลว่านกยูงจึงทำให้มยุระเวนไตยมีลักษณะครี่งนกยูงครึ่งครุฑ มีหัวเป็นนกยูง ส่วนลำตัว เเขน เเละขาเป็นครุฑหางสีหงชาด พื้นตัวสีครามอ่อน
เป็นตัวเเทนสีสันเเห่งป่าหิมพานต์

มอม

 สำหรับตัวมอมนั้นเราจะเห็นตามวัดในแถบภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่นั้นมีแทบทุกวัด เพราะเป็นสัตว์ตามความเชื่อของชาวล้านนา ลักษณะของตัวมอมนั้นอธิบายยากมาก เพราะเกิดจากสัตว์หลายชนิดผสมกัน ทั้งหมา แตุ๊กแก กิ้งก่า ลิง เสือ ฯลฯ มีแขนยาว และลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน

     ตัวมอมตามความเชื่อถือว่าเป็นสัตว์ของเทพชั้นสูง มีอำนาจ อิทธิฤทธิ์ อวตารลงมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ชาวล้านนาจึงนิยมสร้างตั้งไว้ในวัดประดับราวบันได

มกร
   มกร (มะ-กอน) อีกหนึ่งสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของชาวเหนือ พบเห็นได้ตามวัดในแถบภาคเหนือเช่นกัน ลักษณะจะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค มีขายื่นออกมาจากลำตัว และมักจะถูกปั้นให้อยู่มนท่าทางที่กำลัง "คาย" พญานาคออกจากปากด้วย เรียกกันว่า "มกรคายนาค" เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดศาสนสถาน

     มกรเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นการอวยพรให้ผู้ที่เข้ามามีความสุข นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำด้วย ส่วนการที่ช่างปั้นให้คายนาคนั้น เพื่อสื่อความหมายด้านพุทธศาสนา เปรียบมกรเป็นความรัก โลภ โกรธ หลง ส่วนนาคนั้นคือ ตัวเรา แปลความหมายได้ว่า หากตัวเรายังยึดติดกับความลุ่มหลงต่างๆ เราก็เหมือนกับพญานาคที่ถูกมกรยึดติดไว้ ไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือปล่อยวางได้


กิเลน

กิเลนเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ได้รับมาจาก ประเทศจีน เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดในจีน กิเลนตัวผู้กับตัวเมีย มีชื่อเรียก ไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีชื่อเรียกว่า “กิ” ส่วนตัวเมียเรียกว่า “เลน” โดยทั่วไปเรียกโดยรวมว่า กิเลน
ในตำนานจีน กิเลนมีหัวเป็นมังกร มีเขาเดียว (เขาแบบกวาง) มีร่างกายแบบกวาง แต่ผิวปกคลุมไปด้วยเกล็ด หางเหมือนหางวัว และมีกีบเหมือนม้า สัตว์วิเศษนี้ประกอบไปด้วบเบญจธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และ โลหะ กล่าวกันว่า กิเลนมีชีวิตยืนยาวหลายพันปี

บางตำนานก็กล่าวว่า ตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา บ้างก็ว่ามีหลายเขา แทนที่จะเป็นเขาเดี่ยว

กิเลนเป็นสัตว์นำโชค และเป็นหนึ่งในสี่ สัตว์วิเศษของจีน สัตว์วิเศษอีก ๓ ชนิดของจีนคือ นกหงส์ มังกร และ เต่า




 

 กบิลปักษา


กบิลปักษา กะบิลปักษา หรือ พานรปักษา มาจาก พานรหรือวานร แปลว่า ลิง และ ปักษา แปลว่า นก รวม หมายความว่า ครึ่งลิงครึ่งนก ในภาพไม่ใช่ภาพลิงธรรมดา แต่เป็นลิงใหญ่ทรงเครื่อง เพื่อเล่นลวดลายได้ และโดยเหตุที่ลิงชอบผลไม้ ช่างจึงให้ถือต้นไม้มีผล(บางตำราว่าถือมะม่วงและชมพู่ )ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น ที่พิเศษก็คือในบางตำราถือว่า ทั้งลิงทั้งนกต่างก็มีหาง ผู้เขียนภาพเสียดายหางลิงไม่กล้า ตัด ก็เลยทำให้มีทั้งสองอย่าง เมื่อหางลิงตวัดขึ้น หางนก หรือหางไก่ก็ห้อยลง แต่ในตำราฉบับนี้มีหางเป็นอย่างนกหรือไก่และมีปีกอย่างนก



       ไกรสรจำแลง

ไกรสรจำแลง เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทสิงห์ลูกผสม มีลักษณะโดยหัวเป็นมังกรและตัวเป็นราชสีห์ ทำให้อาจจะถูกจิตรกรบางท่านเรียกมันว่า “ไกรสรมังกร” เป็นอีกหนึ่งสัตว์ที่ปรากฏข้อมูลน้อยมากทางเชิงวรรณคดี แต่เรายังพบเห็นมันได้ตามจิตรกรรมฝ่าผนังที่วัดสุทัศนเทพวราราม
ด้วยข้อมูลเบื้องต้นผ่านมุมมองการออกแบบของทีมไตรโลกา ในแรกเริ่ม เราต้องการสัตว์เป็นเป็นดุจดั่งตัวแทนของไกรสรราชสีห์เพื่อเติมเต็มเรื่องราวของยักษ์ “บารัน” ที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวไกรสรราชสีห์ จึงมีการตีความใหม่ให้กับมันด้วยการแบ่งคำตามชื่อคือคำว่า “ไกรสร”และคำว่า “จำแลง” เราจึงได้ทำการตีความและออกแบบใหม่ภายใต้คำว่า “สัตว์ตัวนี้คือร่างจำแลงและตัวแทนของ ไกรสรราชสีห์” จนได้เป็นหมาป่าขนาดกลางที่มีลักษณ์หน้าตาคลายกับตัวไกรสรราชสีห์ นั่นเอง


ดุรงคปักษิณ

ตามตำราดุรงค์ปักษิณคือม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท คำว่าดุรงค์ไกรสรมาจากคำ ๒ คำคือ ดุรงค์ ซึ่งคือหนึ่งในสี่สายพันธุ์ม้าและ ปักษิณ ที่แปลว่านก
 
สัตว์หิมพานต์อีกชนิดที่เหมือนสัตว์ชนิดนี้คือ ม้าปีก ทั้งคู่คล้ายกันมากจะต่างก็เพียงแต่ม้าปีก มีหางดุจดั่งม้าทั่วไป หาใช่หางแบบนกไม่
 
ค้านตะวันตกเองก็มีม้าติดปีกในตำนานเช่นกัน ที่รู้จักกันดีก็คือ เปกาซัส ม้าแห่งตำนานเทพของกรีก



อสุรปักษา

ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำอสูรไว้ว่า หมายถึงยักษ์ และอธิบายคำว่า อสูร ว่าหมายถึง “อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี” เหตุที่อสูรจะเป็นศัตรูกับพวกเทวกานั้น ก็เพราะสมัยหนึ่งพวกเทวดาคือพระอินทร์ได้วางแผนมอมเหล้าพวกอสูร แล้วจับพวกอสูรโยนลงมาจากสวรรค์ เทวดาเข้าไปอยู่แทนหมด พวกอสูรจึงได้โกรธแค้นเทวดามาก พอถึงฤดูดอกแคฝอยบานคราวไร พวกอสูรก็นึกถึงดอกปาริชาตในแดนสวรรค์คราวนั้นแล้วก็ยกพวกขึ้นไปรบกับพระอินทร์เพื่อแย่งเอาสวรรค์กลับคืนมา อสูรปักษาอยู่ในชุดเดียวกันกับอสุราวิหค คือท่อนหัวและตัวเป็นยักษ์ ท่อนล่างเป็นนก แต่เพื่อให้ต่างกันออกไป ก็เปลี่ยนลักษณะของนกให้ผิดกันตามความเหมาะสม อสูรปักษานั้นท่าทางเป็นยักษ์ใหญ่กว่าอสุราวิหค แต่ก็ถือกระบองด้วยกันเพราะขึ้นชื่อว่ายักษ์แล้ว ต้องมีกระบองเป็นอาวุธ


สดายุ

นกสดายุ หรือ พระยาสดายุเป็นพระยาปักษาชาติ (นก)หนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นสหายกับท้าวทศรถ เมื่อทศกัณฐ์ไปลักนางสีดาจากบรรณศาลา พาอุ้มเหาะจะนำไปไว้ ณ สวนขวัญ กรุงลงกา ขณะที่พระรามไม่อยู่ในอาศรม แต่นกสดายุบินผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้ามาสกัดไว้ ผลสุดท้าย พระยาสดายุหรือ นกสดายุถูกขว้างด้วยแหวนของนางสีดาปีกหักตกลงมายังพื้นดินแต่ยังไม่ตาย ทศกัณฐ์พานางสีดาหนีไปได้ สดายุรอคอยแจ้งเหตุกับ พระรามที่ออกติดตามหานางสีดา เมื่อพระรามมาเจอสดายุก็ได้มอบแหวนของนางสีดาให้แล้วจึงสิ้นชีพไป



วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สัตว์หิมพานต์

 

ป่าหิมพานต์

ป่าหิมพานต์เป็นเหมือนพื้นที่ในตำนานที่อยู่ในความรับรู้ของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในวรรณคดีหลายๆ เรื่องเวลาพูดถึงเรื่องความมหัศจรรย์ต่างๆ ก็มักจะอ้างอิงเข้าไปในป่าหิมพานต์แห่งนี้ แม้แต่ไม่นานมานี้อดีตดาราหนุ่มรองเท้าแดงก็เคยเล่าถึงการพลัดหลงเข้าไปในป่าวิเศษนี้

ป่าหิมพานต์มาจากคติความเชื่อแบบพุทธ ในไทยเราปรากฏอยู่ใน ‘ไตรภูมิพระร่วง’ หรือ ‘เตภูมิกถา’ วรรณกรรมพุทธศาสนาเก่าแก่สมัยสุโขทัย เตภูมิกถาเป็นหนังสือที่พูดถึง ‘จักรวาลวิทยา’ แบบพุทธๆ จักรวาลวิทยามีความสำคัญคือเป็นคำอธิบายเรื่องความเป็นไปของโลก ที่สำคัญคืออธิบายว่าเราอยู่ตรงไหนของโลก และจะไปทางไหน ในไตรภูมิเองพูดถึงภพทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ อันเป็นภพภูมิที่เราๆ เวียนว่ายอยู่ นอกจากนี้ยังพูดถึงวงจรกำเนิดไปจนถึงการสิ้นสุดของโลก โดยรวมแล้วก็ประมาณว่าโลกเรามีที่พิเศษและแสนสุขแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ไม่จีรัง นิพพานจึงเป็นปลายทางที่ควรไป นอกจากนี้ยังพูดถึงเรื่องการปกครองด้วย เช่น จักรพรรดิราช ที่อธิบายเรื่องบุญญาบารมีและทศพิธราชธรรม เป็นการอธิบายสภาวะปัจจุบันของเราๆ ท่านๆ ของผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง


สัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา


พญานาค

    หนึ่งในสิ่งมีชีวิตโบราณที่เราพบเห็นได้ในทุกบันไดวัด พญานาคอาศัยอยู่บริเวณบาดาลใต้เขาหิมพานต์ มีอิทธิฤทธิ์มากมาย จำแลงกายได้ บางชนิดพ่นพิษ พ่นไฟได้ พญานาคมีทั้งหมด 4 ตระกูลหลักๆ แต่คนไทยจะคุ้นเคยกับพญานาคในตระกูลเอราปถ หรือตระกูลสีเขียวมากที่สุด

     ในคติความเชื่อของพราหมณ์นั้น นาคหรือพญานาค เป็นผู้ดูแลปกปักรักษาแม่น้ำสีทันดร เป็นแม่น้ำสายใหญ่รอบเขาพระสุเมรุ และยังทำหน้าที่เป็นสะพานสายรุ้งเชื่อมกับโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ทางด้านพระพุทธศาสนา นาคยังเป็นตัวเเทนของผู้ใฝ่รู้ เป็นตัวเเทนของปราชญ์ พร้อมที่จะเข้าหาพระธรรมคำสอน จึงทำให้พญานาคกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่บนราวบันไดวัดนั่นเอง


นกการเวก

นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ แปลว่า "นกกินลม" เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟังนกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ ถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลังของไทย โดยใช้มาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่5 โดยมีที่มาจากขนหางของนกปักษาสวรรค์จากอินโดนีเซีย ที่ประดับบนพระมาลา ที่ได้มาจากชาวอังกฤษที่ทูลเกล้าถวายตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

วารีกุญชร

วารีกุญชร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้าง เท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา(ส่วนชนิดที่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด เรียกว่า กุญชรวารี อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี ประวัติของวารีกุญชรไม่มีที่มาอย่างแน่ชัดเเต่ถึงกระนั้นก็ส่งผลต่ออิทธิพลความเชื่อของคนไทยโดย จิตรกรรมฝาผนังของวารีกุญชรมักเขียนบนฝาผนังของโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดช่องนนทรี หรือวัดคงคาราม เป็นต้น



คชสีห์

คชสิงห์ หรือ คชสีห์ เป็นสัตว์พันธ์ผสมในเทพปกรณัมฮินดู ซึ่งปรากฎเป็น สิงห์ หรือ ราชสีห์ ที่มีหัวหรืองวงช้าง มีการใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นลวดลายในศิลปะอินเดียและสิงหล และใช้เป็น เครื่องหมายประจำตระกูลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ โดยเฉพาะประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ในประเทศสยาม คชสีห์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของกลาโหม ยังปรากฎเป็นเครื่องค้ำในตราเเผ่นดินของสยามตั้งแต่ ค.ศ. 1873 ถึง 1910


นกหัสดีลิงค์


นกหัสดีลิงค์ นกหัสดีลิงค์ เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะตัวส่วนใหญ่เป็นนก แต่มีงอยปากมีลักษณะเป็นงวงอย่างงวงช้าง นกหัสดีลิงค์มักถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมฌาปนกิจแสดงว่า ผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกได้ โดยนกหัสดีลิงค์สามารถนำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ได้ นกหัสดีลิงค์ ปรากฏเป็นภาษาบาลีว่า หตฺถิลิงฺคสกุโณ มาจากคำสามคำสมาสกัน สามารถแยกเป็น หัตถี+ลิงค์+สกุโณ คำว่า หัตถี หมายถึง ผู้มีมืออันโดดเด่นขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ งวงของช้าง

 














































  กินรี กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่...