วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566

 

กินรี


กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

ตำนานของกินรี

กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ
ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี


 นารีผล

 "มักกะลีผล” หรือ "นารีผล” เป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถออกลูกเป็นหญิงสาว ลำต้นสูงใหญ่ ใบจะเหมือนมะม่วงแต่มีขนาดเท่าใบกล้วย เมื่อผลยังอ่อนจะมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้ขาอยู่ พอโตขึ้นหน่อยขาก็จะเหยียดออก ครั้นโตเต็มที่และผลสุกแล้วจะมีรูปร่างดังสาวแรกรุ่นอายุราว ๑๖ ปี ยืนตัวตรง เปลือยกาย โดยส่วนศีรษะจะมีขั้วติดอยู่คล้ายขั้วมังคุด จะมีหน้าตาผิวพรรณงดงามปานเทพธิดา มีผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง แต่ไม่มีโครงกระดูก นิ้วเรียวยาวเท่ากัน ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์ และมีกลิ่นกายหอมไปไกล มักกะลีผลที่มีหุ่นยั่วยวนชวนฝันนี้จะอยู่ติดต้นได้เพียง ๗ วัน ก็จะหลุดจากขั้วแห้งเหี่ยวไป แต่ส่วนใหญ่พอสุกปั๊บ ไม่ทันได้หล่นใต้ต้น เหล่าหนุ่มกลัดมันอันได้แก่ ฤษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ และกินนรทั้งหลายที่ยังละกามกิเลสไม่ได้ ก็จะมาเปิด "ศึกชิงนาง” ยื้อแย่งจนทำร้ายกันถึงตายก็มี ครั้นใครได้ไปก็จะพานารีผลนางนั้นกลับไปเสพสังวาส พอ ๗ วันผ่านพ้น มันก็เน่าเปื่อยไปในที่สุด หนุ่มๆก็จะกลับไปรอกันใหม่

งายไส


งายไส เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ที่มาของ ชื่อนี้ยังไม่ทราบว่ามาจาก ไหนและแปลว่าอะไร แต่ในตำนานได้บรรยายว่า งายไส มีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น งายไสเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร
         สัตว์ที่ งายไส ล่าเป็นเหยื่อ มีตั้งแต่สัตว์เล็กจนไปถึงสัตว์ใหญ่ บางครั้งก็ล่ามนุษย์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่มักจำ งายไส สลับกับ ดุรงค์ไกรสร เพราะสัตว์ทั้ง ๒ ประเภทมีร่างเป็นม้าและมีส่วนหัว เป็นสัตว์ประเภทสิงห์ จะต่างก็เพียงแต่หัวของดุรงค์ไกรสรไม่มีเขา   



ติณสีหะ

 ติณสีหะตามตำราฉบับนี้ว่ามีกายสีเขียวอ่อนแต่บางตำราว่ามีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืช เป็นราชสีห์อีกชนิด รูปพรรณสัณฐานคล้ายนางโค กินหญ้าเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

ติณ แปลว่า หญ้า ในจิตรกรรมวัดสุทัศน์ ระบุว่า กายสีเขียว -ในวรรณกรรมรัตนโกสินทร์ ระบุกายสีหม่นมัวเหมือนนก  



กาฬสีหะ

 กาฬสีหะ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)
              ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชา ด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามาารถทำให้ สัตว์อื่น เจ็บได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  กินรี กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่...